การ Liquidate และตัวอย่าง (อย่ากู้ถ้ายังไม่ได้อ่าน!)

สิ่งสำคัญมากที่ต้องรู้ เมื่อเราใช้งาน Venus protocol คือ การ Liquidation ซึ่งไม่ดีแน่หากเราโดนเข้า แม้นจะมีความสำคัญมากแต่กลับมีน้อยคนที่จะมีความเข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ บทความนี้จึงจะมาอธิบายการทำงานของมัน

ทำไมต้องมีการ Liquidate

Venus ก็เหมือนธนาคารที่มีการฝาก (Supply) และการกู้ยืม (Borrow) ในโลกการเงินแบบดั่งเดิม เมื่อผู้ฝากสินทรัพย์เช่นที่ดินหรือสินทรัพย์อื่นๆไว้กับธนาคาร จำเป็นต้องใช้ผู้ประเมินเพื่อคำนวนมูลค่าสินทรัพย์และความสามารถในการชำระเงินในการพิจารณาปล่อยกู้ และเมื่อผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินต้นได้ก็จะมีการยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด แต่ในโลก Defi เราไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานมากขนาดนั้นในการทำธุรกรรมการเงินดังกล่าว ทุกอย่างจะดำเนินการโดยอัตโนมัติ ทั้งการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ทั้งฝั่งฝากและกู้ยืม โดยใช้ Oracle ในการแจ้งราคาแบบ Real time หรือการเก็บดอกเบี้ยและจ่ายดอกเบี้ยก็เป็นไปตามอัตโนมัติเช่นกัน สะดวกดีใช่ไหมล่ะ แต่นั่นแหละการ Liquidate ก็จะเป็นไปตามกึ่งอัตโนมัติด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นหลักๆ 3 กรณีด้วยกันคือ

  1. เมื่อผู้ใช้งานฝากสินทรัพย์ไว้แต่ราคาร่วงลงจนมีมูลค่าต่ำกว่าวงเงินกู้สูงสุด
  2. เมื่อมูลค่าของสินทรัพย์ที่ผู้ใช้งานกู้ไว้แต่มีมูลค่ามากขึ้น อันอาจเกิดจากดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย แล้วมูลค่านั้นสูงเกินกว่าวงเงินกู้สูงสุด
  3. กรณีที่ทั้งมูลค่าสินทรัพย์ที่ฝากไว้ร่วงแถมสินทรัพย์ที่กู้ไปดันขึ้น (เคราะห์ซ้ำกรรมซัด T_T) จนสินทรัพย์ที่ฝากไว้มีมูลค่าต่ำกว่าวงเงินกู้สูงสุด

    วงเงินกู้ที่เราใช้ดูได้จากหน้าแรก กรอบสีแดง “Borrow limit used”
    จากภาพตัวอย่าง เราจะโดน Liquidate แถบเขียววิ่งไปถึงสุดปลายด้านขวา คือ 100% แถบมันจะไม่เขียวตลอดนะถ้าเลยขีดสีแดงที่ 80% มันจะเปลี่ยนเป็นสีแดงล่ะ
    และเมื่อผู้ใช้มีมูลค่าหนี้เกินเพดานที่กำหนด ก็จะมีโอกาส ถูก Liquidate ทันที โดย Liquidators ทั้งหลายที่จ้องจะชำระบัญชีแทนเราอยู่และเค้าก็จะได้ค่าตอบแทนส่วนหนึ่งในการช่วยให้ระบบมันเสถียร ซึ่งโดยมากเป็น Bot ไว้ในโอกาสหน้าจะมาลงรายละเอียดเรื่องนี้กันอีกที
    เอาล่ะพูดไป 2 ใบเบี้ย หลายคนก็คงยังงๆกันอยู่ดี ผมเลยขอยกตัวอย่างเพื่อประกอบความเข้าใจไว้ในตัวอย่างข้างใต้เลยนะครับ

ตัวอย่างการ Liquidate

เราวาง btc 1m$ มี collateral factor=80%
แล้วเรากู้ 90%max=720k$
Btc ร่วงเหลือ 900k$ จะโดน liquidate คือ
360k$(ครึ่งของเงินกู้) + 36k$(10%
เป็นค่าธรรมของผู้มาชำระแทน)=396k$

ดังนั้นเราจึงเหลือเงินฝากคือ 900k$-396k$
=504k$ และเราก็ยังเหลือหนี้อยู่อีกคือ
720k$-360k$=360k$

ผู้ที่มาชำระแทน (bot) ก็จะได้ค่าธรรมเนียม
ไป 36k$ จากการมาช่วยระบบ

จริงๆจะบอกว่าขาดทุนจริงๆไป 36k$
ไม่รวม slippage ที่อาจมากถึง 10%
ในช่วงวิกฤติ จะคิดรวมจาก % ที่ btc
ร่วงด้วยคงไม่ถูก

และเราจะโดน liquidate อีกรอบถ้า
Btc ร่วงต่อไปที่ 450k$ กรณีที่มูลค่าหนี้
มีมูลค่าเท่าเดิม (stable coin)
หรือหนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 360k$
เป็น 403.2k$ ในกรณีที่เรายืมเหรียญ
ที่มีความผันผวน (ไม่ใช่ Stable coin)
และราคา BTC ยังมีมูลค่าเท่าเดิม

OK คาดว่ามาถึงตรงนี้คงเข้าใจกันมากขึ้นแล้วนะครับ แต่ถ้ายังงง หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม ก็สอบถามมาได้ที่ TG “Telegram: Contact @VenusProtocolThailand
ได้เลยนะครับ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ บาย

2 Likes